พระครูสุนทรธรรมกิจ (หลวงปู่หยอด ชินวํโส)
อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ
พระครูสุนทรธรรมกิจ (หลวงปู่หยอด ชินวํโส) นามเดิมชื่อ สุนทร ชุติมาศ คือกำเนิดเมื่อวันอังคาร แรม 4 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน เวลาเที่ยงคืน ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2454 ณ บ้านภูมิลำเนาเดิมของมารดา บริเวณตลาดบางน้อย (ตรงข้ามศาลเจ้าพ่อโรงโขน) ตำบลตาหลวง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี บิดาชื่อ นายมุ่ย แซ่อึ้ง อาชีพช่างทำทอง มารดาชื่อ นางเหมือน แซ่อึ้ง อาชีพค้าขาย มีพี่น้องจำนวน 8 คน ตามลำดับดังนี้.-
1.นายเจริญ ชุติมาศ (ถึงแก่กรรม)
2.อุบาสิกาเฉลิมศรี ชุติมาศ (ถึงแก่กรรม)
3.นางมณี แซ่อึ้ง (ถึงแก่กรรม)
4.พระครูสุนทรธรรมกิจ (ถึงแก่มรณภาพ 13 มีนาคม 2541)
5.นางสาวมาลัย ชุติมาศ (ถึงแก่กรรม)
6.นายจรูญ ชุติมาศ (ถึงแก่กรรม)
7.เด็กชาย (เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์)
8.เด็กหญิงต่อม (เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์)
ในวัยเยาว์ได้ศึกษาหาความรู้จากบิดาจนอ่านออกเขียนได้ เมื่อเติบโตขึ้นได้เป็นกำลังช่วยมารดาทำการค้าขาย แบ่งเบาภาระให้กับบิดา และครอบครัว
ต้นตระกูล " ชุติมาศ "
ชุติมาศ เป็นนามสกุลที่เปลี่ยนจากเดิม คือ แซ่อึ้ง ผู้เปลี่ยนคือ นายเจริญ ชุติมาศ (เมื่อครั้งเป็นภิกษุเจริญ) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2481 ณ จังหวัดราชบุรี โดยคงความหมายเดิม คือ แซ่อึ้ง หมายถึง ตะกูลทอง ตระกูลช่างทอง , ชุติมาศ หมายถึง รุ่งเรืองด้วยทองคำ
บรรพชา
เมื่อมีอายุได้ 18 ปี ได้ฝากตัวเข้าบรรพชาเป็นสามเณรกับพระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2472 และศึกษาเล่าเรียนธรรมพร้อมปรนนิบัติรับใช้พระครูเปลี่ยน เจ้าอาวาสอย่างใกล้ชิด
อุปสมบท
เมื่ออายุครบอุปสมบท ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูสุทธิสาร (หลวงปู่ใจ) เจ้าอาวาสวัดเสด็จเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุดมสุตกิจ เจ้าอาวาสวัดปราโมทย์ เป็นพระอนุสาวนจารย์ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2474 ได้รับฉายาว่า ชินวํโส หมายถึง ผู้สืบวงศ์แห่งพระพุทธเจ้า
ขณะเป็นพระภิกษุได้ศึกษาพระธรรมพระวินัยและดูแลปรนนิบัติ พระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต ซึ่งอาพาธด้วยโรควัณโรค โดยดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยกตัญญูกตเวทิตาคุณ และวิริยะอุตสาหะ ตลอดนานนับช่วง 10 พรรษา จวบจนพระครูเปลี่ยนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2484
ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2484 ท่านเจ้าคุณ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (หลวงปู่ใจ) เจ้าคณะอำเภออัมพวา ได้แต่งตั้งพระภิกษุสุนทร ชินวํโส ให้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ และรักษาการแทนเจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่ สืบแทนพระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
|
|
|
พระครูสุทธิสาร (หลวงปู่ใจ)
เจ้าอาวาสวัดเสด็จ เป็นพระอุปัชฌาย์
|
พระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต
เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ พระกรรมวาจาจารย์
|
พระครูอุดมสุตกิจ (พลบ)
เจ้าอาวาสวัดปราโมทย์ พระอนุสาวนาจารย์
|
วิทยฐานะ
พระครูสุนทรธรรมกิจ เป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะสนใจใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง จนได้รับวิทยฐานะดังนี้.-
1.ความรู้สามัญ สอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (สมัครสอบ) จากโรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
2.สอบได้นักธรรมชั้นตรี (น.ธ.ตรี) พ.ศ.2473
3.สอบได้นักธรรมชั้นโท (น.ธ.โท) พ.ศ.2476
4.สอบได้นักธรรมชั้นเอก (น.ธ.เอก) พ.ศ.2478
ฐานานุรูป
1.พ.ศ.2487 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ , เจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่-วัดประดู่ , กรรมการสงฆ์องค์การเผยแผ่ ประจำอำเภออัมพวา
2.พ.ศ.2488 เจ้าสำนักปริยัติธรรมวัดแก้วเจริญ ดำเนินการเปิดสอนภาษาบาลี
3.พ.ศ.2493 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์บัตรพัดยศ ชั้นตรี มีราชทินนามว่า " พระครูสุนทรธรรมกิจ "
4.พ.ศ.2499 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายาจารย์
5.พ.ศ.2507 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์บัตรพัดยศ ชั้นโท
6.พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์บัตรพัดยศ ชั้นเอก
|
|
ในวันที่ 23 มิถุนายน 2487 พระมหาสิทธิการประธานคณะกรรมสงฆ์จังหวัด ได้ทำหนังสือตราตั้งเจ้าอาวาส
แต่งตั้งให้ พระสุนทร ฉายา ชินวํโส เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
|
|
การรับสัญญาบัตร- พัดยศพระครูชั้นตรี วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2494 โดยท่านเจ้าคณะตรวจการภาคเป็นประธานเวลา 13.00 น. แล้วเดินทางมารับฉลองสมณศักดิ์ ณ วัดตึก สมุทรสาคร |
|
|
|
|
ตราแต่งตั้งให้เจ้าอธิการสุนทร วัดแก้วเจริญ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็น พระครูสุนทรธรรมกิจ ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2493 เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน
|
|
|
เมื่อครั้งได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
จาก พระธรรมปิฎก เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อ พ.ศ.2499
|
การรับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตร พัดยศ
พระครูชั้นเอก พ.ศ.2517
|
|
|
ภาพปลุกเสกวัตถุมงคลหน้ากุฏิ
|
ภาพปลุกเสกที่พระอุโบสถวัดแก้วเจริญ
|
งานด้านการศึกษา
1. เป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก
2. เป็นเจ้าสำนักธรรมชั้นศึกษาชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก
3. เป็นเจ้าสำนักเรียนบาลี ป.ธ.3 (ปัจจุบันปิดทำการสอนเนื่องด้วยขาดครูผู้สอน)
4. เป็นกรรมการสงฆ์องค์การเผยแพร่ ประจำอำเภออัมพวา
งานด้านเผยแพร่
1. เป็นพระอุปัชฌาย์ในการบรรพชา และอุปสมบทแก่ผู้มีจิตเลื่อมใสเข้าศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
2. เป็นผู้ปกครองสงฆ์สำนักวัดแก้วเจริญ ในการอบรมสั่งสอนสามเณร และภิกษุ ทั้งเก่าและใหม่ในเรื่องจริยาวัตร กิจวัตร และศาสนพิธี
3. จัดเทศนา อบรม สั่งสอนคฤหัสถ์ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติประพฤติตนเป็นพลเมืองดี
4. เป็นผู้ปกครองเยาวชน ที่ผู้ปกครองนำมาฝากเป็นศิษย์ให้มีความเข้าใจในหลักธรรม ศาสนพิธี และอุปการะให้เข้าเรียนทั้งระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
งานสาธารณูปการ
นับแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ ท่านได้เป็นผู้นำบรรพชิตและคฤหัสถ์ ดำเนินการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ บำรุงรักษาวัด และจัด
การศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ สืบทอดเจตนารมณ์เจ้าอาวาสในอดีต คือ พระอธิการต่าย พระอธิการแย้ม พระอธิการฟัก พระอธิการคง และพระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต ตั้งแต่ พ.ศ.2484 จนถึงปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
พ.ศ.2484 ก่อสร้างศาลาท่าน้ำบริเวณหน้าโรงเรียนวัดแก้วเจริญ (เฟื้อบำรุง) 1 หลัง พร้อมโป๊ะลอยน้ำ 1 โป๊ะ
พ.ศ.2485 สร้างกุฏิสงฆ์โดยใช้เรือนทรงไทยโบราณ จำนวน 4 หลัง
พ.ศ.2490 ย้ายหอสวดมนต์บริเวณหน้าวัด ย้ายกุฏิพร้อมเปลี่ยนเสาใหม่ 3 หลัง และซ่อมหลังคาอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุด
พ.ศ.2493 ก่อสร้างอาคารปริยัติธรรม 2 ชั้น เพื่อใช้เป็นที่เรียนของพระภิกษุสงฆ์
พ.ศ.2504 รื้อถอนกุฏิเก่าที่ชำรุดจัดสร้างใหม่เป็นแนวเดียวกัน แบบทรงไทยสองหลังแฝด จำนวน 5 คู่ (ชุด) ปัจจุบันรื้อถอนก่อสร้าง เป็นอาคารไม้
ทรงไทย สองหลังแฝด จำนวน 5 คู่ (ชุด) หรือ 20 หลังโดยรอบ
พ.ศ.2507 ก่อสร้างหอฉันภัตตาหารพระภิกษุกว้าง 14 เมตร ยาว 60 เมตร เสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก (ปัจจุบันรื้อของเดิมแล้วสร้างใหม่ เป็น
เรือนไม้ทรงไทย 2 ชั้น เสาไม้จริง พร้อมหอกลองและหอระฆัง กว้าง 15 เมตร ยาว 50 เมตร)
พ.ศ.2509 สร้างเขื่อนกันดินคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดบริเวณหน้าวัด กว้าง 1.5 เมตร ยาว 310 เมตร (ปัจจุบันสร้างศาลาทรงไทยเสาไม้เพิ่มเติม 3 หลัง)
พ.ศ.2510 ซื้อที่ดินเพิ่มเติมเป็นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวา ใช้เป็นที่ก่อสร้างฌาปนสถาน ตามแบบกรมศิลปากร ตรีมุขครึ่งตึกครึ่ง ไม้กว้าง 36 เมตร ยาว 30 เมตร
พ.ศ.2514 ย้ายศาลาการเปรียญหลังเก่านำมาจัดสร้างแนวเดียวกับฌาปนสถานเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนเป็นทรงไทย ชั้นล่างเป็นคอนกรีต กว้าง 17 เมตร ยาว 20 เมตร
พ.ศ.2521 ก่อสร้างพระอุโบสถคอนกรีตเหล็กสองชั้น (แทนพระอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุด) กว้าง 17 เมตร ยาว 46 เมตร และจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต
ในเดือนมกราคม 2530
พ.ศ.2531 ก่อสร้างอาคารหอสมุดประชาชน เป็นอาคารคอนกรีตเสริม 2 ชั้น ชั้นบนเป็นแบบทรงไทย กว้าง 10 เมตร ยาว 21 เมตร และได้มอบให้ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภออัมพวาใช้เป็นสำนักงาน
พ.ศ.2533 รื้อกุฏิเจ้าอาวาสเดิมแล้วสร้างใหม่เป็น อาคาร 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ ชั้นบนเป็นแบบทรงไทย ฝาไม้สัก 5 หลัง เชื่อมต่อกันตลอด
พ.ศ.2534 ต่อเติมศาลาการเปรียญด้านหลังเป็นเรือนทรงไทย พร้อมห้องน้ำชั้นบน และสร้างเขื่อนกันดินบริเวณหลังกุฏิเจ้าอาวาส กว้าง1.5 เมตร ยาว 60 เมตร
พ.ศ.2535 รื้อกุฏิสงฆ์ จำนวน 5 คู่ (10 หลัง) ด้านทิศตะวันออก สร้างใหม่เป็นแบบเดียวกัน ชั้นบนเป็นทรงไทยชั้นล่างเป็นคอนกรีต (แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2537)
พ.ศ.2536 รื้อหอฉันภัตตาหารเดิมซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตพื้นไม้ แล้วจัดสร้างใหม่เป็นตัวอาคาร 2 ชั้น ทรงไทย เสาไม้จริงพร้อมหอกลาง หอระฆัง กว้าง 15 เมตร ยาว 50 เมตร (สร้างแล้วเสร็จ พ.ศ.2539) ชื่อ หอสุนทรธรรมกิจราษฎร์รังสรรค์
พ.ศ.2537 จัดสร้างห้องน้ำห้องส้วมของวัดเพื่อประโยชน์แก่พระภิกษุสงฆ์และประชาชนทั่วไปบริเวณด้านหลังศาลาการเปรียญ
พ.ศ.2538 จัดสร้างห้องน้ำห้องส้วมสำหรับบริการประชาชนข้างศาลาฌาปนสถาน จำนวน 6 ห้อง
พ.ศ.2539 รื้อกุฏิสงฆ์ จำนวน 5 คู่ (10 หลัง) ด้านทิศตะวันตก จัดสร้างใหม่เป็นแบบเดียวกัน ชั้นบนเป็นทรงไทย ชั้นล่างเป็นอาคารคอนกรีต
พ.ศ.2540 ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในหอฉันภัตตาหารพร้อมเทพื้นคอนกรีตปูกระเบื้องเป็นลานเชื่อมกุฏิสงฆ์ และหอฉันภัตตาหารทั้งสองด้าน จัด
ทำลูกกรงแสตนเลสโดยรอบ พร้อมจัดสร้างกำแพงคอนกรีตและกรง แสตนเลสรอบกุฏิสงฆ์และปรับปรุงผนังอาคารชั้นล่างของศาลาการเปรียญ โดยใช้ลูก
กรงแสตนเลสแทนผนังก่ออิฐถือปูนเดิม
งานงานสาธารณูปการนับแต่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส
|
ศาลาแรกปั้นหยาล้วน คนคง
แลมีโป๊ะทอดตรง ท่าน้ำ
ให้ผู้คนสัญจร เรือเร่ง เร็วนา
ยามร้อนแดดแผดกร้าน พักได้ ทันใจ
|
|
จับงานกุฏิสร้าง ทรงไทย
สำหรับสงฆ์อาศัย ทุกผู้
จัดเป็นแนวเรียงไป ตามแบบ อย่างนา
จั่วบริเวณจับคู่ เคียงไว้ ตรงกัน
|
|
|
|
|
หอสวดมนต์หลังหน้ารื้อ สร้างใหม่
ลงอาคารปริยัติไซร์ แทนที่
วางแผนลงตัวไว ้ สอนบา ลีเฮย
จวบปัจจุบันนี้ เว้นว่าง ครูสอน
|
|
|
กาลต่อมาจำเป็นสร้าง หอระฆัง
พร้อมหอฉันภัตตาหารยัง ขาดแผ้ว
เพื่อให้สงฆ์ลั่นระฆัง ปฏิบัติ กิจนา
ปัจจุบันหาไม่แล้ว เปลี่ยนใหม่ ทรงไทย
|
|
|
|
|
กุฏิใหม่ทรงไทยล้วน สักทอง
งามสง่าน่ามอง เจิดจ้า
เป็นดำริตามครรลอง ของหลวง ปู่นา
เป็นถาวรวัตถุทรงคุณค่า มอบให้ แผ่นดิน
|
|
|
มีเขื่อนทอดยาวไว้ กันดิน
ชนทุกผู้ทุกถิ่น ได้ใช้
มีทางเดินตลอดสิ้น เรียบโค้ง ยาวนา
ประชาชนร่วมท่านให้ สร้างมอบ อนุชน
|
|
|
|
|
ยามญาติขามลมไซร้ เรียกหา
สถานที่ฌาปนา ท่านให้
เหตุเกิดด้วยสัจจา เยี่ยงนี้ ท่านเฮย
จึงดำริจัดสร้างไว้ มอบให้ ปวงชน
|
|
|
เกิดกิจสงฆ์กิจชนด้วย ศาลา
การเปรียญร่วมศรัทธา ก่อกู้
ผสมผสานรูปทรงเสา กลกับ ใหม่นา
เอื้อประโยชน์ทั้งผองผู้ ล้นพ้น อเนกอนันต์
|
|
|
|
|
งามแท้ตระหง่านตั้ง อุโบสถ
เสาสูงหลังคาลด หลั่นบ้าง
กระหนกไทยปั้นวางจรด วิจิตร บรรจงแฮ
กอปรกิจสงฆ์มิว่าง วันเนื่อง ตลอดมา
|
|
|
บรรจงสร้างหอสมุดไว้ เคียงกัน
มอบ กศน. โดยพลัน ฮ่อนให้
นับเป็นอนุสรณ์อัน ทรงเกียรติ จงลือ
หวังผดุงปัญญาไว้ แน่แท้ หนหลัง
|
|
|
|
|
ท่านรักไม้สักด้วย จิตใจ
จึงวางดำริไว้ ให้สร้าง
กุฏิเผดียงไทย แนวเหยียด ตรงแฮ
งามระเบียบหายากอ้าง มอบให้ ชวนชม
|
|
|
ดินถูกน้ำแรงพัด พังครืน
จึงสร้างเขื่อนไว้ยืน หยัดสู้
ตรงหลังวัดกลมกลืน ติดต่อ ไว้นา
เสร็จสรรพลุล่วงรู้ ประโยชน์นับ คุณูปการ
|
|
|
|
|
อนุสรณ์สุดท้ายตั้ง มโหฬาร
งามวิจิตรพิสดาร เพริศพริ้ง
ทุ่มเทด้วยหทัยกานต์ มุ่งมั่น เสร็จนา
หวังเป็นแรงบันดาลยิ่ง สืบทอด (เจ) ตนารมณ์
|
|
|
สุนทรธรรมกิจราษฎร์ รังสรรค์
เลื่องระบือครามครัน ทั่วหน้า
หาใดเปรียบรำพัน งามสุด แท้เฮย
รวมทั้งโลกแหล่งหล้า แม่นแท้ แห่งเดียว
|
|
|
:: ขอขอบคุณ พี่โอเล่ย์ ,อนันต์ ศาลายา ,บอม วัดแก้วฯ และคณะศิษย์วัดแก้วเจริญ ทุกท่าน...ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ::