พระสังกัจจายน์กดพิมพ์โบราณเนื้องผงยาจินดามณี ผสมผงปี 97 , ผงแม่ชีบุญเรือน และพุทธคุณเก่าต่างๆ กดพิมพ์ด้วยบล็อกดินเผาโบราณของ วัดแก้วเจริญ ทำการปิดทองลองพิมพ์ ฝังด้วยตะกรุดเงินด้านหน้า และด้านใต้องค์พระ พร้อมทั้งกดโค๊ตทุกองค์ ซึ่งพระสังกัจจายน์ชุดนี้หลวงพ่อคำนวณทำ การกดพิมพ์ปิดทอง และกดโค๊ตด้วยตัวท่านเองทุกขั้นตอน พร้อมทั้งได้ทำการอธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นระยะเวลานานพอสมควรประกอบกับ เพื่อให้เนื้อผงยา นั้นได้ทำการเซ็ตตัว และแห้งไปในตัวก่อนทำการแจกให้กับศิษยานุศิษย์เพื่อนำไปบูชาต่อไป จำนวนการสร้าง 28 องค์ (ปี 58) ซึ่งแต่ละองค์จะมีฝังตะกรุดเงิน ด้านหน้า 1-3 ดอก บางองค์ได้ฝังพระนาคปรกโลหะของหลวงปู่หยอดด้านหลังไปด้วย
- ปิดทองลองพิมพ์ด้านหน้า ฝังตะกรุดเงินด้านหน้า 3 ดอก /ใต้ 2 ดอก กดโค๊ตด้านหลัง 3 โค๊ต (นำฤกษ์)
- ปิดทองลองพิมพ์ด้านหน้า ฝังตะกรุดเงินด้านหน้า 3 ดอก /ใต้ 1 ดอก กดโค๊ตด้านหลัง 4 โค๊ต พร้อมทั้งฝังพระนาคปรกโลหะหลวงปู่หยอด
- ปิดทองลองพิมพ์ด้านหน้า ฝังตะกรุดเงินด้านหน้า 2 ดอก /ใต้ 1 ดอก กดโค๊ตด้านหลัง 2 โค๊ต
- ปิดทองลองพิมพ์ด้านหน้า ฝังตะกรุดเงินด้านหน้า 1 ดอก /ใต้ 1 ดอก กดโค๊ตด้านหลัง 1 โค๊ต
-------------------------------------------------------------------------------
พระบูชาสังกัจจายน์ ปางขอลาภ ที่ประดิษฐานภายในศาลาวัดแก้วเจริญ
พระมหากัจจายน์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า กัจจานะ (หรือกัจจายนะ) ในญี่ปุ่นรู้จักทั่วไปในชื่อ " คะเซ็นเน็น " (Kasennen) ส่วนในประเทศไทย นอกจากชื่อ ตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ " พระสังกัจจายน์ " หรือ " พระสังกระจาย "
ประวัติพระสังกัจจายน์ ในตำนานพุทธสาวกทั้ง 80 องค์มี พระสังกัจจายน์เป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิต กัจจาน โคตร หรือกัจจายนโคตรใน แผ่นดินของพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี เมื่อกัจจายนะกุมารเจริญวัย เรียนจบไตรเพท บิดาได้ถึงแก่กรรม จึงได้รับตำแหน่ง ปุโรหิตแทนบิดา ครั้นต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า พระศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวโปรดสัตว์สั่งสอน ประชุมชนธรรมะที่พระองค์สอนนั้น เป็น ธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ แก่ผู้ประพฤติตาม จึงมีพระประสงค์ใคร่เชิญเสด็จพระบรมศาสดาไปประกาศที่กรุงอุชเชนี จึงรับสั่งให้กัจจายนะปุโรหิตไปทูล เสด็จกรุงอุชเชนี
กัจจายนะปุโรหิตพร้อมด้วยผู้ติดตาม 7 คน จึงออกจากกรุงอุชเชนี ครั้นมาถึงจึงพากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเทศน์สั่งสอนในที่สุด บรรลุอรหันต์ทั้ง 8 คน หลังจากนั้นทั้ง 8 ก็ทูลขออุปสมบท ทรงขออนุญาต ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงทูลเชิญเสด็จกรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ พระองค์รับสั่งว่า " ท่านไป เองเถิด เมื่อท่านไปแล้ว พระเจ้าปัชโชตจักทรงเลื่อมใสท่าน "
พระกัจจายนะ จึงออกเดินทางพร้อมพระอรหันต์อีก 7 องค์ ที่ติดตามมาด้วย กลับคืนสู่กรุงอุชเชนี และประกาศสัจธรรมให้แก่พระเจ้าจัณฑปัชโชต พร้อมชาวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และถ้อยคำประการอันเป็นสัจธรรม หลังจากนั้นกลับคืนสู่สำนักของพระพุทธองค์ ตรัสว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดใน การอธิบายแห่งการย่อคำพิสดาร นับจากนั้นมา พระสังกัจจายน์ ก็เป็นผู้สรุปย่อคำสอนบอกแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย ด้วยความพอใจอย่างยิ่ง ในคำย่อนั้น และยังเป็นผู้ทูลขอให้พระพุทธองค์บัญญัติแก้ไขพุทธบัญญัติบางประการ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระทัยแก่องค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก
พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปงาม ผิวเหลืองดุจทอง ตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีโสเรยยะบุตรเศรษฐีคะนอง เห็นพระสังกัจจายน์จึงปากพล่อยกล่าวว่า ถ้าเรา ได้ภรรยามีรูปกายงดงามเยี่ยงท่านนี้ จักพอใจยิ่ง พลันปรากฏว่าโสเรยยะบุตรมหาเศรษฐีหนุ่มคะนองปาก ได้กลายเพศเป็นหญิงในทันที จึงหลบหนีไป ต่อมา ได้สามีและบุตรสองคน จึงกลับมาขอขมากับพระสังกัจจายน์ โสเรยยะจึงกลับคืนสู่เพศชายเช่นเดิม นับว่าพระสังกัจจายน์มีฤทธิ์อำนาจยิ่งองค์หนึ่งในพุทธสาวก มีเรื่องแทรกเข้ามาว่าเพราะ รูปกายอันงดงามของพระสังกัจจายน์ สร้างความปั่นป่วนแก่อิตถีเพศอย่างมาก จึงได้เนรมิตกายใหม่ให้อ้วน พุงพลุ้ย น่าเกลียด เพื่อ ความสงบแห่งจิตและกิเลส
พระสังกัจจายน์เป็นพระอรหันต์ผู้บันดาลโชคลาภ ปัญญา และเมตตามหานิยม ซึ่งชาวพุทธกราบไหว้สักการบูชาพระสังกัจจายน์เพื่อให้บังเกิดความ เป็นสิริมงคล 3 ประการแก่ตนเองและครอบครัว ดังนี้
- โชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ พระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องให้เป็นพระผู้อุดมด้วยโภคทรัพย์ และลาภสักการะเสมอด้วยพระสิวลี
- สติปัญญา เนื่องเพราะพระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศในทางอธิบายความพุทธภาษิต ท่านเป็นอรหันต์ ผู้มี ปฎิภาณเฉียบแหลม
- ความงามและความมีเสน่ห์ เนื่องจากเพราะก่อนที่ท่านจะอธิษฐานจิตให้รูปร่างเปลี่ยนแปลง พระสังกัจจายน์มีผิวดั่งทองคำ และมีรูปงามละม้าย เหมือนพระพุทธเจ้า จนแม้แต่เทพยดา พรหม มนุษย์ทั้งปวงพากันรักใคร่ชื่นชม
พระบูชาสังกัจจายน์ ปางขอลาภ โดยได้มีการออกแบบ และได้มีการจัดสร้างมาตั้งแต่สมัยหลวงปู่หยอด ชินวํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ ถือเป็น เอกลักษณ์โดยเฉพาะของทางวัดแก้วเจิรญ ซึ่งต่อมาสมัยพระอาจารย์ปาน อาภสฺสโรก้อมีการจัดสร้าง จนถึงปัจจุบันในยุคหลวงพ่อนวณ ปริสุทฺโธ เป็น เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ ก็ได้มีการจัดสร้างพระบูชาสังกัจจายน์ปางขอลาภ เช่นกัน
หลวงพ่อนวณ ปริสุทฺโธ ได้จัดสร้างพระบูชาสังกัจจายน์ ปางขอลาภ ขนาด 5 นิ้ว ในสมัยที่ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญใหม่ๆ เมื่อปี 2554 ถือเป็นพระบูชารุ่นแรกที่ได้ทำการจัดสร้าง ซึ่งมีจำนวณไม่มาก โดยมีขนาดเดียวคือ หน้าตัก 5 นิ้ว จำนวนการจัดสร้าง 120 องค์ ใต้ฐานบรรจุเหรียญ และไหม เบญจรงค์ หลวงปู่หยอด และได้นิมนต์หลวงพ่อยวง อาภสฺสโร วัดโพธิศรี ซึ่งเป็นบูรพาจารย์ท่านมาปลุกเสก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2554 มีรายละเอียดดังนี้.-
1. พระบูชาสังกัจจายน์ ฯ ขนาด 5 นิ้ว (ปิดทอง) จำนวน 20 องค์ ร่วมทำบุญ 3,500.-บาท
2. พระบูชาสังกัจจายน์ ฯ ขนาด 5 นิ้ว (รมน้ำตาล) จำนวน 100 องค์ ร่วมทำบุญ 2,500.-บาท
พระบูชาสังกัจจายน์ ปางขอลาภ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว (ปิดทอง) จำนวนสร้าง 20 องค์ (ใต้ฐานบรรจุเหรียญ และไหมเบญจรงค์ หลวงปู่หยอด)
พระบูชาสังกัจจายน์ ปางขอลาภ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว (รมน้ำตาล) จำนวนสร้าง 100 องค์ (ใต้ฐานบรรจุเหรียญ และไหมเบญจรงค์ หลวงปู่หยอด)
หลวงพ่อเมตตาจาร และเซ็นกำกับที่องค์พระสังกัจจายน์ / รอบฐาน / ใต้ฐานองค์พระฯ พร้อมทั้งผูกไหมเบญจรงค์ให้
ได้นิมนต์หลวงพ่อยวง อาภสฺสโร วัดโพธิศรี ซึ่งเป็นบูรพาจารย์ท่านมาปลุกเสก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2554
การบูชาพระสังกัจจายน์ให้เป็นสิริมงคล และคาถาบูชา
ตั้งนะโม 3 จบ เมตตานะ ศรี อะริยะเมตโต พุธธา นะมะ สันติเถโร อะนาคามิ สุธุ 3 ครั้ง
บูชาด้วยธูป 3 ดอก พร้อมดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอมหรือดอกบัว 7 ดอก ถวายน้ำสะอาด 1 แก้ว และถวายผลไม้ทุกวันพระ โดยมีเคล็ดอย่างนึงว่า
พระสังกัจจายน์นั้นหากบูชาไว้ในบ้านให้ปิดทองที่พุงของท่านเชื่อว่าจะมีลาภไหลมาไม่ขาดสาย
ในส่วนการไปไหว้พระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ที่วัด นั้นควรมีดอกบัว 1 ดอก , ธูป 3 ดอก และทองคำเปลวสามแผ่น แผ่นที่ 1 ปิดที่หน้าผากขอพรให้มี ปัญญาเฉียบแหลมแบบท่าน , แผ่นที่ 2 ปิดที่ปากท่านเพื่อขอให้เกิดเมตตามหานิยม , แผ่นที่ 3 ปิดที่พุงเพื่อขอลาภไหลมาพูนทวีแล้วกล่าวคาถาบูชา
:: ขอขอบคุณ คณะศิษย์วัดแก้วเจริญ ทุกท่าน...ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ::