หน้าแรก... ประวัติวัดแก้วเจริญ... กิจกรรมภายในวัด... ติดต่อเรา...


 
ประวัติความของเป็นมาวัดแก้วเจริญ
 
ประวัติหลวงปู่หยอด  ชินวํโส
 
หนังสือชีวิตและผลงานหลวงปู่หยอดฯ
 
เปิดบันทึกตำนาน " หลวงปู่หยอดฯ "
 
คติธรรม / คำสอน
 
ประวัติเจ้าอาวาส (พระครูสมุห์คำนวณฯ)  
 
ทัศนียภาพภายในวัด  
 
ภาพถ่ายวัดแก้วเจริญ สมัยเก่า
 
กิจกรรม / แจ้งข่าวของทางวัด 
 
ติดต่อเราและแผนที่ / Facebook
 
 

 
วัตถุมงคลเนื้อผงรุ่นแรก ปี 2497 
 
ภาพวัตถุมงคลของหลวงปู่หยอดฯ
 
วัตถุมงคลของ พระครูสมุห์คำนวณฯ
 พระผงปิดตาโภคทรัพย์รุ่นแรก  
 ล็อกเก็ตพระครูสมุห์คำนวณฯ  
 พระนาคปรกผงมหาระงับ พุทธาภินิหาร
 พระสมเด็จปรกโพธิ์รุ่นแรก เศรษฐีดวงดี
 พระขุนแผนรุ่นแรก " เจริญลาภ "
 มีดหมอรุ่นแรก " เทวฤทธิ์บรมครู "
 สีผึ้งมหามงคล " ฤกษ์จันทร์ซ้อนจันทร์ "
 ตะกรุดต่างๆ พระครูสมุห์คำนวณฯ
   - ตะกรุดมหาปราบพอกผงมหาระงับ
   - ตะกรุดพระพุทธเจ้าอมโลก
   - ตะกรุดโสฬสมหามงคล
   - ตะกรุดคู่ชีวิต / ตะกรุดมหารูด
   - ตะกรุดมหาระงับ 8 ทิศใหญ่
   - ตะกรุดลูกอมพิสมรมหาระงับ (ใบลาน)
 รวมวัตถุมงคลอื่นๆ  


 
 ภูมิปัญญาชาวบ้าน " หมอรักษาโรคฯ "
 
 คลองเสด็จประพาสต้น
 
 วัตถุโบราณเพื่อชนรุ่นหลังได้ศึกษา
 
 แหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์เรือโบราณ
 
 Link แนะนำ ...
 
 



          

พระบูชาสังกัจจายน์ ปางขอลาภ ที่ประดิษฐานภายในศาลาวัดแก้วเจริญ

                พระมหากัจจายน์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า กัจจานะ (หรือกัจจายนะ) ในญี่ปุ่นรู้จักทั่วไปในชื่อ " คะเซ็นเน็น " (Kasennen) ส่วนในประเทศไทย นอกจากชื่อ ตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ  " พระสังกัจจายน์ " หรือ " พระสังกระจาย "
                ประวัติพระสังกัจจายน์ ในตำนานพุทธสาวกทั้ง 80 องค์มี  พระสังกัจจายนเป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิต กัจจาน โคตร หรือกัจจายนโคตรใน แผ่นดินของพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี เมื่อกัจจายนะกุมารเจริญวัย เรียนจบไตรเพท บิดาได้ถึงแก่กรรม จึงได้รับตำแหน่ง ปุโรหิตแทนบิดา  ครั้นต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า พระศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวโปรดสัตว์สั่งสอน ประชุมชนธรรมะที่พระองค์สอนนั้น เป็น ธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ แก่ผู้ประพฤติตาม จึงมีพระประสงค์ใคร่เชิญเสด็จพระบรมศาสดาไปประกาศที่กรุงอุชเชนี จึงรับสั่งให้กัจจายนะปุโรหิตไปทูล เสด็จกรุงอุชเชนี
                
กัจจายนะปุโรหิตพร้อมด้วยผู้ติดตาม 7 คน จึงออกจากกรุงอุชเชนี ครั้นมาถึงจึงพากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเทศน์สั่งสอนในที่สุด  บรรลุอรหันต์ทั้ง 8 คน หลังจากนั้นทั้ง 8 ก็ทูลขออุปสมบท ทรงขออนุญาต ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงทูลเชิญเสด็จกรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ พระองค์รับสั่งว่า   " ท่านไป เองเถิด เมื่อท่านไปแล้ว พระเจ้าปัชโชตจักทรงเลื่อมใสท่าน " 
                พระกัจจายนะ จึงออกเดินทางพร้อมพระอรหันต์อีก 7 องค์ ที่ติดตามมาด้วย กลับคืนสู่กรุงอุชเชนี และประกาศสัจธรรมให้แก่พระเจ้าจัณฑปัชโชต พร้อมชาวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และถ้อยคำประการอันเป็นสัจธรรม หลังจากนั้นกลับคืนสู่สำนักของพระพุทธองค์ ตรัสว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดใน การอธิบายแห่งการย่อคำพิสดาร  นับจากนั้นมา พระสังกัจจายน์ ก็เป็นผู้สรุปย่อคำสอนบอกแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย ด้วยความพอใจอย่างยิ่ง ในคำย่อนั้น และยังเป็นผู้ทูลขอให้พระพุทธองค์บัญญัติแก้ไขพุทธบัญญัติบางประการ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระทัยแก่องค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก 
                พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปงาม ผิวเหลืองดุจทอง ตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีโสเรยยะบุตรเศรษฐีคะนอง เห็นพระสังกัจจายน์จึงปากพล่อยกล่าวว่า ถ้าเรา ได้ภรรยามีรูปกายงดงามเยี่ยงท่านนี้ จักพอใจยิ่ง พลันปรากฏว่าโสเรยยะบุตรมหาเศรษฐีหนุ่มคะนองปาก ได้กลายเพศเป็นหญิงในทันที จึงหลบหนีไป ต่อมา ได้สามีและบุตรสองคน จึงกลับมาขอขมากับพระสังกัจจายน์ โสเรยยะจึงกลับคืนสู่เพศชายเช่นเดิม นับว่าพระสังกัจจายน์มีฤทธิ์อำนาจยิ่งองค์หนึ่งในพุทธสาวก มีเรื่องแทรกเข้ามาว่าเพราะ รูปกายอันงดงามของพระสังกัจจายน์  สร้างความปั่นป่วนแก่อิตถีเพศอย่างมาก จึงได้เนรมิตกายใหม่ให้อ้วน พุงพลุ้ย น่าเกลียด เพื่อ ความสงบแห่งจิตและกิเลส
                พระสังกัจจายน์เป็นพระอรหันต์ผู้บันดาลโชคลาภ ปัญญา และเมตตามหานิยม ซึ่งชาวพุทธกราบไหว้สักการบูชาพระสังกัจจายน์เพื่อให้บังเกิดความ เป็นสิริมงคล 3  ประการแก่ตนเองและครอบครัว ดังนี้
                - โชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ พระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องให้เป็นพระผู้อุดมด้วยโภคทรัพย์ และลาภสักการะเสมอด้วยพระสิวลี
                - สติปัญญา เนื่องเพราะพระสังกัจจายน์ไ
ด้รับการยกย่องจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศในทางอธิบายความพุทธภาษิต ท่านเป็นอรหันต์ ผู้มี ปฎิภาณเฉียบแหลม
                - ความงามและความมีเสน่ห์ เนื่องจากเพราะก่อนที่ท่านจะอธิษฐานจิตให้รูปร่างเปลี่ยนแปลง พระสังกัจจายน์มีผิวดั่งทองคำ และมีรูปงามละม้าย เหมือนพระพุทธเจ้า จนแม้แต่เทพยดา พรหม มนุษย์ทั้งปวงพากันรักใคร่ชื่นชม

 


                พระบูชาสังกัจจายน์ ปางขอลาภ โดยได้มีการออกแบบ และได้มีการจัดสร้างมาตั้งแต่สมัยหลวงปู่หยอด ชินวํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ ถือเป็น เอกลักษณ์โดยเฉพาะของทางวัดแก้วเจิรญ ซึ่งต่อมาสมัยพระอาจารย์ปาน อาภสฺสโรก้อมีการจัดสร้าง จนถึงปัจจุบันในยุคหลวงพ่อนวณ ปริสุทฺโธ เป็น เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ ก็ได้มีการจัดสร้างพระบูชาสังกัจจายน์ปางขอลาภ เช่นกัน
                หลวงพ่อนวณ ปริสุทฺโธ ได้จัดสร้างพระบูชาสังกัจจายน์ ปางขอลาภ ขนาด 5 นิ้ว ในสมัยที่ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญใหม่ๆ เมื่อปี 2554 ถือเป็นพระบูชารุ่นแรกที่ได้ทำการจัดสร้าง ซึ่งมีจำนวณไม่มาก โดยมีขนาดเดียวคือ หน้าตัก 5 นิ้ว จำนวนการจัดสร้าง 120 องค์ ใต้ฐานบรรจุเหรียญ และไหม เบญจรงค์ หลวงปู่หยอด และได้นิมนต์หลวงพ่อยวง อาภสฺสโร วัดโพธิศรี ซึ่งเป็นบูรพาจารย์ท่านมาปลุกเสก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2554 มีรายละเอียดดังนี้.-
                1. พระบูชาสังกัจจายน์  ฯ ขนาด 5 นิ้ว (ปิดทอง)         จำนวน      20 องค์    ร่วมทำบุญ    3,500.-บาท
                2. พระบูชาสังกัจจายน์  ฯ ขนาด 5 นิ้ว (รมน้ำตาล)      จำนวน   100 องค์     ร่วมทำบุญ   2,500.-บาท

 

          

พระบูชาสังกัจจายน์ ปางขอลาภ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว (ปิดทอง)  จำนวนสร้าง  20 องค์ (ใต้ฐานบรรจุเหรียญ และไหมเบญจรงค์ หลวงปู่หยอด)

 

          

พระบูชาสังกัจจายน์ ปางขอลาภ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว (รมน้ำตาล)  จำนวนสร้าง  100 องค์ (ใต้ฐานบรรจุเหรียญ และไหมเบญจรงค์ หลวงปู่หยอด)

 

          

หลวงพ่อเมตตาจาร และเซ็นกำกับที่องค์พระสังกัจจายน์ / รอบฐาน / ใต้ฐานองค์พระฯ พร้อมทั้งผูกไหมเบญจรงค์ให้

 

          

          

          

          

ได้นิมนต์หลวงพ่อยวง อาภสฺสโร วัดโพธิศรี ซึ่งเป็นบูรพาจารย์ท่านมาปลุกเสก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2554

 

                การบูชาพระสังกัจจายน์ให้เป็นสิริมงคล  และคาถาบูชา
                ตั้งนะโม 3 จบ เมตตานะ ศรี อะริยะเมตโต พุธธา นะมะ สันติเถโร อะนาคามิ สุธุ 3 ครั้ง
                บูชาด้วยธูป 3 ดอก พร้อมดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอมหรือดอกบัว 7 ดอก ถวายน้ำสะอาด 1 แก้ว และถวายผลไม้ทุกวันพระ  โดยมีเคล็ดอย่างนึงว่า
พระสังกัจจายน์นั้นหากบูชาไว้ในบ้านให้ปิดทองที่พุงของท่านเชื่อว่าจะมีลาภไหลมาไม่ขาดสาย
                ในส่วนการไปไหว้พระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ที่วัด นั้นควรมีดอกบัว 1 ดอก , ธูป 3 ดอก และทองคำเปลวสามแผ่น แผ่นที่ 1 ปิดที่หน้าผากขอพรให้มี ปัญญาเฉียบแหลมแบบท่าน , แผ่นที่ 2 ปิดที่ปากท่านเพื่อขอให้เกิดเมตตามหานิยม , แผ่นที่ 3 ปิดที่พุงเพื่อขอลาภไหลมาพูนทวีแล้วกล่าวคาถาบูชา

 

 

-------------------------------------------------------------------------------

 

 

                พระสังกัจจายน์กดพิมพ์โบราณเนื้องผงยาจินดามณี ผสมผงปี 97 , ผงแม่ชีบุญเรือน และพุทธคุณเก่าต่างๆ กดพิมพ์ด้วยบล็อกดินเผาโบราณของ วัดแก้วเจริญ ทำการปิดทองลองพิมพ์ ฝังด้วยตะกรุดเงินด้านหน้า และด้านใต้องค์พระ พร้อมทั้งกดโค๊ตทุกองค์ ซึ่งพระสังกัจจายน์ชุดนี้หลวงพ่อคำนวณทำ การกดพิมพ์ปิดทอง และกดโค๊ตด้วยตัวท่านเองทุกขั้นตอน พร้อมทั้งได้ทำการอธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นระยะเวลานานพอสมควรประกอบกับ เพื่อให้เนื้อผงยา นั้นได้ทำการเซ็ตตัว และแห้งไปในตัวก่อนทำการแจกให้กับศิษยานุศิษย์เพื่อนำไปบูชาต่อไป จำนวนการสร้าง 28 องค์ (ปี 58) ซึ่งแต่ละองค์จะมีฝังตะกรุดเงิน ด้านหน้า 1-3 ดอก บางองค์ได้ฝังพระนาคปรกโลหะของหลวงปู่หยอดด้านหลังไปด้วย

 

ภาพขยาย...          ภาพขยาย...

                - ปิดทองลองพิมพ์ด้านหน้า ฝังตะกรุดเงินด้านหน้า 3 ดอก /ใต้ 2 ดอก กดโค๊ตด้านหลัง 3 โค๊ต (นำฤกษ์)
                - ปิดทองลองพิมพ์ด้านหน้า ฝังตะกรุดเงินด้านหน้า 3 ดอก /ใต้ 1 ดอก กดโค๊ตด้านหลัง 4 โค๊ต พร้อมทั้งฝังพระนาคปรกโลหะหลวงปู่หยอด

 

ภาพขยาย...          ภาพขยาย...

                - ปิดทองลองพิมพ์ด้านหน้า ฝังตะกรุดเงินด้านหน้า 2 ดอก /ใต้ 1 ดอก กดโค๊ตด้านหลัง 2 โค๊ต
                - ปิดทองลองพิมพ์ด้านหน้า ฝังตะกรุดเงินด้านหน้า 1 ดอก /ใต้ 1 ดอก กดโค๊ตด้านหลัง 1 โค๊ต

 

-------------------------------------------------------------------------------

 

               พระผงสังกัจจายน์ (กดพิมพ์โบราณ) ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก และร่วมทำบุญกับทางวัดฯ พ.ย.61) โดยได้นำบล๊อกดินเผาเก่าของทางวัด มาทำการกดพิมพ์โบราณ แล้วฝังด้วยแผ่นโค๊ตวัด, พลอยเสก, ฝังตะกรุด พร้อมจารกำกับทุกองค์ โดยจัดสร้างด้วยกัน 2 พิมพ์ คือแบบพิมพ์เล็ก และแบบ พิมพ์ใหญ่ ซึ่งได้ออกให้ร่วมทำบุญในวันที่ 24 ก.พ.62 เป็นต้นมา รายละเอียดในการจัดสร้างดังนี้.-
              1. เนื้อผงมหาระงับ ผสมผงเก่า ปิดทอง/ฝังโค๊ตเงินและตะกรุดเงิน(พิมพ์ใหญ่) จำนวน 48 องค์ (ทำบุญ 399.-บาท)
              2. เนื้อผงมหาระงับ ผสมผงเก่า ปิดทอง/ฝังโค๊ตเงินและตะกรุดเงิน(พิมพเล็ก) จำนวน 48 องค์ (ทำบุญ 299.-บาท)
              3. เนื้อผงมหาระงับ ผสมผงเก่า/ฝังโค๊ตทองแดงและตะกรุดเงิน(พิมพ์ใหญ่) จำนวน 250 องค์ (ทำบุญ 200.-บาท)
              4. เนื้อผงมหาระงับ ผสมผงเก่า/ฝังโค๊ตทองแดงและตะกรุดเงิน(พิมพเล็ก) จำนวน 250 องค์ (ทำบุญ 150.-บาท)
              5. เนื้อผงพุทธคุณ ฝังโค๊ดทองแดง(พิมพ์ใหญ่) จำนวน 1,000 องค์ (ทำบุญ 150.-บาท)
              6. เนื้อผงพุทธคุณ ฝังโค๊ดทองแดง(พิมพเล็ก) จำนวน 1,000 องค์ (ทำบุญ 100.-บาท)

 

ภาพขยาย...
หลวงพ่อเมตตากดพิมพ์พระสังกัจจายน์เป็นปฐมฤกษ์ ด้วยเนื้อชานหมาก จำนวน 1 องค์

 
ภาพขยาย...
ภาพขยาย...
 
 
เนื้อผงมหาระงับ ผสมผงเก่า ปิดทอง
ฝังโค๊ตเงินและตะกรุดเงิน(พิมพ์ใหญ่) จำนวน 48 องค์
เนื้อผงมหาระงับ ผสมผงเก่า ปิดทอง
ฝังโค๊ตเงินและตะกรุดเงิน(พิมพ์เล็ก) จำนวน 48 องค์
 
       
 
ภาพขยาย...
ภาพขยาย...
 
 
เนื้อผงมหาระงับ ผสมผงเก่า/ฝังโค๊ตทองแดง
พลอยเสก และตะกรุดเงิน(พิมพ์ใหญ่)  จำนวน 250 องค์
เนื้อผงมหาระงับ ผสมผงเก่า/ฝังโค๊ตทองแดง
พลอยเสก และตะกรุดเงิน(พิมพ์เล็ก่)  จำนวน 250 องค์
 
       
 
ภาพขยาย...
ภาพขยาย...
 
 
เนื้อผงพุทธคุณ ฝังโค๊ดทองแดง(พิมพ์ใหญ่)
และพลอยเสก จำนวน 1,000 องค์
เนื้อผงพุทธคุณ ฝังโค๊ดทองแดง(พิมพ์ใหญ่)
และพลอยเสก จำนวน 1,000 องค์
 
       
       

ภาพขยาย...    ภาพขยาย...    ภาพขยาย...

ภาพขยาย...    ภาพขยาย...    ภาพขยาย...

พระผงสังกัจจายน์ (กดพิมพ์โบราณ) เนื้อผงพุทธคุณผสมผงเก่าฯ กดพิมพ์ด้วบบล๊อกดินเผาเก่าของทางวัดแก้วเจริญ

 

              

              

พระผงสังกัจจายน์ (กดพิมพ์โบราณ) ได้นำร่วมเข้าพิธีปลุกเสกพระกริ่ง " แก้วเจริญ ๑ " ภายในอุโบสถวัดแก้วเจริญ
ในวันพฤหัสบดีที่ 22 พ.ย.61 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันลอยกระทง) เวลา 17.29 น. รายละเอียดเพิ่มเติม....

 

              

              

พระผงสังกัจจายน์ (กดพิมพ์โบราณ) ได้นำร่วมเข้าพิธีปลุกเหรียญพระสังกัจจายน์ (ที่รฤกอุปัชฌาย์) " เศรษฐีโภคทรัพย์ "
ในวันอังคารที่ 19 ก.พ.62 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันมาฆบูชา) เวลา 17.29 น. รายละเอียดเพิ่มเติม....

 

              

              

พระผงสังกัจจายน์ (กดพิมพ์โบราณ) ได้นำร่วมเข้าพิธีปลุกเหรียญพระสังกัจจายน์ (ที่รฤกอุปัชฌาย์) " เศรษฐีโภคทรัพย์ "
ในวันพุธที่ 20 ก.พ.62 (ฤกษ์มงคลมหาลาภ มหาโภคทรัพย์ ) เวลา 18.39 น. รายละเอียดเพิ่มเติม....

 

 

-------------------------------------------------------------------------------

 

 

  

 

          
พระบูชาสังกัจจายน์ ปางขอลาภ ที่ประดิษฐานภายในศาลาวัดแก้วเจริญ (องค์ต้นแบบ) และรูปแบบ 3D

                เหรียญเศรษฐีโภคทรัพย์ พระครูสมุห์คำนวณ ปริสุทฺโธ  จต.วัดประดู่ / จร.วัดแก้วเจริญ  ต.เหมืองใหม่  อ.อัมพวา  จ.สมุทรสงคราม ได้จัดสร้างเพื่อเป็นที่รฤกในวาระได้รับแต่งตั้งเป็น " พระอุปัชฌาย์ " โดยรูปแบบเหรียญเศรษฐีโภคทรัพย์ ซึ่งเป็นเหรียญทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. พุทธคุณเหรียญนี้นั้นครอบจักรวาลทั้งด้านโภคทรัพย์ เรียกทรัพย์เงินทองไหลมาเทมา โชคลาภ เมตตาแคล้วตลาด ป้องกันภัย ตลอดจนด้านมหาอุตม์อีกด้วย
                ด้านหน้าเป็นรูปพระสังกัจจายน์ ปางขอลาภ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของทางวัดแก้วเจริญ ด้านบนเป็นยันต์ครู และด้านข้างทั้ง 2 ข้าง เป็นยันต์โภคทรัพย์ (พระเจ้า 10 ชาติ) หลวงปู่หยอด และยันต์พุฒม้วนโลก ส่วนด้านล่างพระสังกัจจายน์ข้อความ " เศรษฐีโภคทรัพย์ "  แล้วล้อมด้วยพระคาถาเรียกทรัพย์
                ด้านหลังตรงกลางเป็นยันต์ดวงประจำตัวหลวงพ่อนวณ ซึ่งเป็นดวงชะตามหามงคลอุดมโภคทรัพย์ ตามที่อาจารย์ลักษณ์ เลขานิเทศน์ได้กล่าวไว้ เมื่อวันที่ 9 พ.ค.61 รายละเอียดเพิ่มเติม...(พระสงฆ์ผู้มีดวงชะตามหามงคลอุดมโภคทรัพย์ มหาอุจจ์ ปทุมเกณฑ์ สุดยอดดวงชะตา มหาลาภ โภคทรัพย์ " ลัคนาราศี กรกฏ ดาวอาทิตย์(๑) เจ้าเรือนการเงินเป็น " มหาอุจจ์ (ไม่ใช่มหาอุตต์ ที่หมายถึงอยู่ยงคงกะพัน) แต่หมายถึง มหาทรัพย์ เดช อำนาจ วาสนา บารมี ของท่านมีในทางทรัพย์ ให้พรใครในเรื่องนี้ ใครได้รับพร หรือมีวัตถุมงคลของท่านที่มี " รูปดวงท่าน " แล้วกลับไปมุ่งทำมาหากิน ในทางที่ชอบ " รวยยยยยย " ฟันธง.... ดาวพฤหัสบดี(๕) เป็นปทุมเกณฑ์ อัมพุจตุรเกณฑ์ ตามคัมภีร์โหรชั้นสูง ท่านมีเสน่ห์มนตราในทางธรรมบารมี ที่สะสม มาหลายชาติภพ ชาตินี้ จะมี บุคคลสำคัญ เคยร่วมชาติร่วมบารมี ร่วมภพภูมิ ทั้งมนุษย์และเทวดาพญานาคราช ครุฑ เวียนมาภพ สักการะ อนุโมทนา พึ่งพาบารมี และยังเกื้อกูลหนุนเนื่อง ส่งเสริมแก่มนุษย์ และเทพเทวาทุกหมู่เหล่า ด้วยสมณะบำเพ็ญ) ด้านบนเป็นยันต์เมตตาโชคลาภ และด้านข้างล้อมด้วยพระคาถาพระพุทธเจ้า 16 พระองค์, มงกุฏพระพุทธเจ้า, โภคทรัพย์ และพระสิวลีกลับธาตุ ข้อความ " ที่รฤกษ์อุปัชฌาย์ พระครูสมุห์คำนวณ ปริสุทฺโธ วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม พ.ศ.๒๕๖๒ "

ภาพขยาย...     ภาพขยาย...     ภาพขยาย...

แผ่นโลหะจารยันต์ต่างๆ สำหรับหลอมเป็นชนวนในการสร้างเหรียญฯ (ทองคำ , เงิน , ทองเหลือง , ทองแดง และตะกั่ว) รายละเอียดเพิ่มเติม...

      

รูปแบบเหรียญตะกั่วลองปั้มบล๊อก ก่อนเก็บรายละเอียดอีกครั้ง


                รายละเอียดการจัดสร้างเหรียญเศรษฐีโภคทรัพย์ (ที่รฤกอุปัชฌาย์) มีดังนี้.-

ลำดับ
รายการเหรียญ " เศรษฐีโภคทรัพย์ "
จำนวนการสร้าง
บูชา (บาท)
หมายเหตุ
1

 ชุดทองคำ (กรรมการอุปถัมป์) รับพระจำนวน 31 เหรียญ
 1.1 เนื้อทองคำ จำนวน 1 เหรียญ
 1.2 เนื้อเงินหน้ากากทองคำ หลังเรียบ จำนวน 1 เหรียญ
 1.3 เนื้อนวโลหะ หลังเรียบ จำนวน 4 เหรียญ
*** สมนาคุณชุดกรรมการ 2 ชุด (หมายเลข 1-9 และเลขเบิ้ล 11-99) ***
*** สมนาคุณเนื้อชนวน จำนวน 3 เหรียญ ***

9 ชุด 
20,000.-  
 
2

 ชุดเนื้อเงิน (กรรมการ) รับพระจำนวน 11 เหรียญ
 2.1 เนื้อเงิน จำนวน 1 เหรียญ
 2.2 เนื้อทองทิพย์ จำนวน 10 เหรียญ

200 ชุด 
1,000.-  
เนื้อทองทิพย์เลขเดียวกัน
กับเนื้อเงิน จำนวน 1 เหรียญ
3

  เนื้อชนวน (แจกเป็นที่ระลึกฯ และสมนาคุณในชุดทองคำ)

300 เหรียญ 
-
แจกเป็นที่ระลึกฯ
4
  เนื้อตะกั่วลองพิมพ์ไม่ตัดปีก หน้ากากทองคำ (No.3 ประมูลทำบุญฯ)
9 เหรียญ 
-
แจกกรรมการฯ
5
  หน้ากากทองทิพย์ (สำหรับไว้ใช้สร้างวัตถุมงคลต่อไป)
1,100 เหรียญ 
-
6
  ชุดตะกรุดที่รฤกอุปัชฌาย์ (นำตะกรุดเก่าที่จารเก็บแล้วไว้ มาให้ร่วมทำบุญฯ)
   - ตะกรุดมหายันต์ + เหรียญเนื้อชนวนตอกโค๊ตพิเศษ
   - ตะกรุดมหาระงับ + เหรียญเนื้อชนวนตอกโค๊ตพิเศษ

9 ชุด  
9 ชุด  

5,000.-  
3,000.-  
7
  ลูกแก้วโชคดี-สารพัดนึก " นพเก้า "  (ชุดละ 9 ลูก 9 สี)
9 ชุด  
500.-  
ชุดตัวอย่าง
*** หมายเหตุ...
     - ท่านใดจองชุดกรรมการ จำนวน 10 ชุด สามารถเลือกยกลังของเนื้อทองทิพย์ หมายเลข 201 - 2000 ได้เลย
     - เหรียญทองคำปีกกว้าง หลังเรียบ ตอก 999 จำนวน 2 เหรียญ (ถวายหลวงพ่อ)
     - เหรียญแต่ละเนื้อ ตอก 999
จำนวน 1 ชุด (ยกเว้นทองคำ) ลงตู้ทำเนียบวัตถุมงคลวัด
     - เหรียญที่ชำรุดที่ทางโรงงานมอบคืนวัด (เนื้อชนวน 18 เหรียญ , นวะหลังเรียบ 3 เหรียญ และเนื้อทองทิพย์

 

 
 
 
เนื้อตะกั่วปั้มตัวอย่างลองพิมพ์ ด้านหน้า และด้านหลัง / หน้ากากเนื้อทองทิพย์ จำนวน 1,100 อัน
 
       
 
 
 
เนื้อทองคำปีกกว้าง หลังเรียบ
จำนวน 2 เหรียญ (ถวายหลวงพ่อ)
เนื้อตะกั่วปีกกว้าง หน้ากากทองคำ หลังเรียบ
จำนวน 9 เหรียญ (แจกกรรมการ/ประมูลทำบุญฯ)
 
       
 
 
 
เนื้อทองคำ หลังยันต์ (ชุดกรรมการอุปถัมป์)
จำนวน  9  เหรียญ
เนื้อเงินหน้ากากทองคำ หลังเรียบ (ชุดกรรมการอุปถัมป์)
จำนวน  9  เหรียญ
 
       
 
 
 
เนื้อนวโลหะ หลังเรียบ (ชุดกรรมการอุปถัมป์)
จำนวน  36   เหรียญ
เนื้อเงิน หลังยันต์ (ชุดกรรมการ)
จำนวน  200   เหรียญ
 
       
 
 
 
เนื้อทองทิพย์ หลังยันต์ (ชุดกรรมการ)
จำนวน  2,000   เหรียญ
เนื้อชนวน หลังยันต์ (แจกเป็นที่ระลึกฯ
และสมนาคุณในชุดกรรมการอุปถัมป์) จำนวน  200   เหรียญ
 
 
 
                     ชุดตะกรุดที่รฤกอุปัชฌาย์ (นำตะกรุดเก่าที่จารเก็บแล้วไว้ มาให้ร่วมทำบุญฯ)
                    - ตะกรุดมหายันต์ /เหรียญเนื้อชนวนตอกโค๊ตพิเศษ จำนวน 9 ชุด , ตะกรุดมหาระงับ /เหรียญเนื้อชนวนตอกโค๊ตพิเศษ จำนวน 9 ชุด
 

 

            

            

                        เหรียญเนื้อชนวนที่ตอกชำรุดที่ทางโรงงานนำมามอบให้วัด จำนวน 18 เหรียญ นำมาตอกโค๊ตเพิ่มพิเศษ และตอก ๙๙๙ พร้อมทั้งติดหน้ากาก ทองทิพย์ จีวร/ตะกรุด/เกศาด้านหลัง สำหรับมอบเป็นที่ระลึกฯ แด่พระภิกษุที่อุปสมบทหมู่ เมื่อวันที่ 6 พ.ค.62 และพระภิกษุที่หลวงพ่อนวณฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ จำนวน 16 เหรียญ อีก 2 เหรียญในตู้ทำเนียบวัตถุมงคลวัดฯ



ภาพขยาย...       ภาพขยาย...       ภาพขยาย...

เหรียญทุกเหรียญทำการตอกโค๊ต และหมายเลขกำกับ ซึ่งโค๊ตที่ใช้ในเหรียญนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 6 แบบด้วยกัน

 

              

              

พิธีปลุกเสกเหรียญพระสังกัจจายน์ (ที่รฤกอุปัชฌาย์) " เศรษฐีโภคทรัพย์ " ในศาลากุฎิวัดแก้วเจริญ หน้าพระสังกัจจายน์ปางขอลาภองค์ใหญ่
ในวันอังคารที่ 19 ก.พ.62 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันมาฆบูชา) เวลา 17.29 น. รายละเอียดเพิ่มเติม....

 

              

              

พิธีปลุกเสกเหรียญพระสังกัจจายน์ (ที่รฤกอุปัชฌาย์) " เศรษฐีโภคทรัพย์ " ในศาลากุฎิวัดแก้วเจริญ หน้าพระสังกัจจายน์ปางขอลาภองค์ใหญ่
ในวันพุธที่ 20 ก.พ.62 (ฤกษ์มงคลมหาลาภ มหาโภคทรัพย์ ) เวลา 17.29 น. รายละเอียดเพิ่มเติม....

 

 

 

 

 

 

:: ขอขอบคุณ คณะศิษย์วัดแก้วเจริญ ทุกท่าน...ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ::

 
      ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ " วัดแก้วเจริญ " และขอเชิญมากราบสรีระหลวงปู่หยอด ชินวํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ เกจิแห่งลุ่มน้ำแม่กลองอันโด่งดัง ผู้สร้างไหมห้าสีเบญจรงค์อันเลื่องชื่อ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัวครับ.....