หน้าแรก... ประวัติวัดแก้วเจริญ... กิจกรรมภายในวัด... ติดต่อเรา...


 
ประวัติความของเป็นมาวัดแก้วเจริญ
 
ประวัติหลวงปู่หยอด  ชินวํโส
 
หนังสือชีวิตและผลงานหลวงปู่หยอดฯ
 
เปิดบันทึกตำนาน " หลวงปู่หยอดฯ "
 
คติธรรม / คำสอน
 
ประวัติเจ้าอาวาส (พระครูสมุห์คำนวณฯ)  
 
ทัศนียภาพภายในวัด  
 
ภาพถ่ายวัดแก้วเจริญ สมัยเก่า
 
กิจกรรม / แจ้งข่าวของทางวัด 
 
ติดต่อเราและแผนที่ / Facebook
 
 

 
วัตถุมงคลเนื้อผงรุ่นแรก ปี 2497 
 
ภาพวัตถุมงคลของหลวงปู่หยอดฯ
 
วัตถุมงคลของ พระครูสมุห์คำนวณฯ
 พระผงปิดตาโภคทรัพย์รุ่นแรก  
 ล็อกเก็ตพระครูสมุห์คำนวณฯ
   - ล็อกเก็ตนั่งเต็มองค์รุ่นแรก  
   - ล็อกเก็ตครึ่งองค์รุ่นแรก
   - ล็อกเก็ตครึ่งองค์ฉากสีชมพู
 ตะกรุดต่างๆ พระครูสมุห์คำนวณฯ
   - ตะกรุดมหาปราบพอกผงมหาระงับ
   - ตะกรุดสาริการัญจวน / สาริกาจันทร์เพ็ญ
   - ตะกรุดโลกธาตุ / โลกธาตุจัมโบ้
   - ตะกรุดโลกธาตุใบลานสีประจำวันเกิด
   - ตะกรุดกันภัยแปดทิศ  
   - ตะกรุดอื่นๆ
 รวมวัตถุมงคลอื่นๆ  


 
 ภูมิปัญญาชาวบ้าน " หมอรักษาโรคฯ "
 
 คลองเสด็จประพาสต้น
 
 วัตถุโบราณเพื่อชนรุ่นหลังได้ศึกษา
 
 แหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์เรือโบราณ
 
 Link แนะนำ ...
 
 

 


พระครูสุนทรธรรมกิจ (หลวงปู่หยอด ชินวํโส)
อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ

               พระครูสุนทรธรรมกิจ (หลวงปู่หยอด ชินวํโส)   นามเดิมชื่อ สุนทร ชุติมาศ คือกำเนิดเมื่อวันอังคาร แรม 4 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน เวลาเที่ยงคืน ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2454 ณ บ้านภูมิลำเนาเดิมของมารดา บริเวณตลาดบางน้อย (ตรงข้ามศาลเจ้าพ่อโรงโขน) ตำบลตาหลวง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี บิดาชื่อ นายมุ่ย แซ่อึ้ง อาชีพช่างทำทอง มารดาชื่อ นางเหมือน  แซ่อึ้ง  อาชีพค้าขาย มีพี่น้องจำนวน 8 คน ตามลำดับดังนี้.-
               1.นายเจริญ   ชุติมาศ (ถึงแก่กรรม)
               2.อุบาสิกาเฉลิมศรี  ชุติมาศ (ถึงแก่กรรม)

               3.นางมณี  แซ่อึ้ง (ถึงแก่กรรม)
               4.พระครูสุนทรธรรมกิจ (ถึงแก่มรณภาพ 13 มีนาคม 2541)
               5.นางสาวมาลัย  ชุติมาศ (ถึงแก่กรรม)
               6.นายจรูญ  ชุติมาศ (ถึงแก่กรรม)
               7.เด็กชาย (เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์)
               8.เด็กหญิงต่อม
(เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์)
               ในวัยเยาว์ได้ศึกษาหาความรู้จากบิดาจนอ่านออกเขียนได้ เมื่อเติบโตขึ้นได้เป็นกำลังช่วยมารดาทำการค้าขาย แบ่งเบาภาระให้กับบิดา และครอบครัว

               ต้นตระกูล " ชุติมาศ "
               ชุติมาศ เป็นนามสกุลที่เปลี่ยนจากเดิม คือ แซ่อึ้ง ผู้เปลี่ยนคือ นายเจริญ ชุติมาศ (เมื่อครั้งเป็นภิกษุเจริญ) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2481 ณ จังหวัดราชบุรี โดยคงความหมายเดิม คือ แซ่อึ้ง หมายถึง ตะกูลทอง ตระกูลช่างทอง , ชุติมาศ หมายถึง รุ่งเรืองด้วยทองคำ

               บรรพชา
               เมื่อมีอายุได้ 18 ปี ได้ฝากตัวเข้าบรรพชาเป็นสามเณรกับพระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2472 และศึกษาเล่าเรียนธรรมพร้อมปรนนิบัติรับใช้พระครูเปลี่ยน เจ้าอาวาสอย่างใกล้ชิด

               อุปสมบท
               เมื่ออายุครบอุปสมบท ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูสุทธิสาร (หลวงปู่ใจ) เจ้าอาวาสวัดเสด็จเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุดมสุตกิจ เจ้าอาวาสวัดปราโมทย์ เป็นพระอนุสาวนจารย์ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2474 ได้รับฉายาว่า ชินวํโส หมายถึง ผู้สืบวงศ์แห่งพระพุทธเจ้า
               ขณะเป็นพระภิกษุได้ศึกษาพระธรรมพระวินัยและดูแลปรนนิบัติ พระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต ซึ่งอาพาธด้วยโรควัณโรค โดยดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยกตัญญูกตเวทิตาคุณ และวิริยะอุตสาหะ ตลอดนานนับช่วง 10 พรรษา จวบจนพระครูเปลี่ยนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2484
               
ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2484 ท่านเจ้าคุณ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (หลวงปู่ใจ) เจ้าคณะอำเภออัมพวา ได้แต่งตั้งพระภิกษุสุนทร ชินวํโส ให้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ และรักษาการแทนเจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่ สืบแทนพระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พระครูสุทธิสาร (หลวงปู่ใจ)
เจ้าอาวาสวัดเสด็จ เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต
เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ  พระกรรมวาจาจารย์

พระครูอุดมสุตกิจ (พลบ)
เจ้าอาวาสวัดปราโมทย์  พระอนุสาวนาจารย์

               วิทยฐานะ
               พระครูสุนทรธรรมกิจ เป็นผู้มีวิริยะอุตสาหะสนใจใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง จนได้รับวิทยฐานะดังนี้.-
               1.ความรู้สามัญ สอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (สมัครสอบ) จากโรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
               2.สอบได้นักธรรมชั้นตรี (น.ธ.ตรี) พ.ศ.2473
               3.สอบได้นักธรรมชั้นโท (น.ธ.โท) พ.ศ.2476
               4.สอบได้นักธรรมชั้นเอก (น.ธ.เอก) พ.ศ.2478

               ฐานานุรูป
               1.พ.ศ.2487  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ , เจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่-วัดประดู่ , กรรมการสงฆ์องค์การเผยแผ่ ประจำอำเภออัมพวา
               2.พ.ศ.2488  เจ้าสำนักปริยัติธรรมวัดแก้วเจริญ ดำเนินการเปิดสอนภาษาบาลี
               3.พ.ศ.2493  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์บัตรพัดยศ ชั้นตรี มีราชทินนามว่า " พระครูสุนทรธรรมกิจ "
               4.พ.ศ.2499  ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายาจารย์
               5.พ.ศ.2507 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์บัตรพัดยศ ชั้นโท
               6.พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์บัตรพัดยศ ชั้นเอก
 

   

ในวันที่ 23 มิถุนายน 2487 พระมหาสิทธิการประธานคณะกรรมสงฆ์จังหวัด ได้ทำหนังสือตราตั้งเจ้าอาวาส
แต่งตั้งให้ พระสุนทร ฉายา ชินวํโส เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

การรับสัญญาบัตร- พัดยศพระครูชั้นตรี วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2494 โดยท่านเจ้าคณะตรวจการภาคเป็นประธานเวลา 13.00 น. แล้วเดินทางมารับฉลองสมณศักดิ์ ณ วัดตึก สมุทรสาคร
   

ตราแต่งตั้งให้เจ้าอธิการสุนทร วัดแก้วเจริญ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็น พระครูสุนทรธรรมกิจ ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2493 เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน

เมื่อครั้งได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
จาก พระธรรมปิฎก เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อ พ.ศ.2499

การรับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตร – พัดยศ
พระครูชั้นเอก พ.ศ.2517

ภาพปลุกเสกวัตถุมงคลหน้ากุฏิ

ภาพปลุกเสกที่พระอุโบสถวัดแก้วเจริญ


               งานด้านการศึกษา
               1. เป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก
               2. เป็นเจ้าสำนักธรรมชั้นศึกษาชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก
               3. เป็นเจ้าสำนักเรียนบาลี ป.ธ.3 (ปัจจุบันปิดทำการสอนเนื่องด้วยขาดครูผู้สอน)
      
         4. เป็นกรรมการสงฆ์องค์การเผยแพร่ ประจำอำเภออัมพวา

               งานด้านเผยแพร่
               1. เป็นพระอุปัชฌาย์ในการบรรพชา และอุปสมบทแก่ผู้มีจิตเลื่อมใสเข้าศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
               2. เป็นผู้ปกครองสงฆ์สำนักวัดแก้วเจริญ ในการอบรมสั่งสอนสามเณร และภิกษุ ทั้งเก่าและใหม่ในเรื่องจริยาวัตร กิจวัตร และศาสนพิธี
               3. จัดเทศนา อบรม สั่งสอนคฤหัสถ์ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติประพฤติตนเป็นพลเมืองดี
               4. เป็นผู้ปกครองเยาวชน ที่ผู้ปกครองนำมาฝากเป็นศิษย์ให้มีความเข้าใจในหลักธรรม ศาสนพิธี และอุปการะให้เข้าเรียนทั้งระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
  

               งานสาธารณูปการ
               
นับแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ  ท่านได้เป็นผู้นำบรรพชิตและคฤหัสถ์ ดำเนินการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ บำรุงรักษาวัด  และจัด
การศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ สืบทอดเจตนารมณ์เจ้าอาวาสในอดีต คือ พระอธิการต่าย พระอธิการแย้ม พระอธิการฟัก พระอธิการคง และพระครูเปลี่ยน สุวณฺณโชโต ตั้งแต่ พ.ศ.2484 จนถึงปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
               พ.ศ.2484 ก่อสร้างศาลาท่าน้ำบริเวณหน้าโรงเรียนวัดแก้วเจริญ (เฟื้อบำรุง) 1 หลัง พร้อมโป๊ะลอยน้ำ 1 โป๊ะ
               พ.ศ.2485 สร้างกุฏิสงฆ์โดยใช้เรือนทรงไทยโบราณ จำนวน 4 หลัง
               พ.ศ.2490 ย้ายหอสวดมนต์บริเวณหน้าวัด ย้ายกุฏิพร้อมเปลี่ยนเสาใหม่ 3 หลัง และซ่อมหลังคาอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุด
               พ.ศ.2493 ก่อสร้างอาคารปริยัติธรรม 2 ชั้น เพื่อใช้เป็นที่เรียนของพระภิกษุสงฆ์
               พ.ศ.2504 รื้อถอนกุฏิเก่าที่ชำรุดจัดสร้างใหม่เป็นแนวเดียวกัน แบบทรงไทยสองหลังแฝด จำนวน 5 คู่ (ชุด) ปัจจุบันรื้อถอนก่อสร้าง เป็นอาคารไม้
ทรงไทย สองหลังแฝด จำนวน 5 คู่ (ชุด) หรือ 20 หลังโดยรอบ
               พ.ศ.2507 ก่อสร้างหอฉันภัตตาหารพระภิกษุกว้าง 14 เมตร ยาว 60 เมตร เสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก (ปัจจุบันรื้อของเดิมแล้วสร้างใหม่ เป็น
เรือนไม้ทรงไทย 2 ชั้น เสาไม้จริง พร้อมหอกลองและหอระฆัง กว้าง 15 เมตร ยาว 50 เมตร)
               พ.ศ.2509 สร้างเขื่อนกันดินคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดบริเวณหน้าวัด กว้าง 1.5 เมตร ยาว 310 เมตร (ปัจจุบันสร้างศาลาทรงไทยเสาไม้เพิ่มเติม 3 หลัง)
               พ.ศ.2510 ซื้อที่ดินเพิ่มเติมเป็นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวา ใช้เป็นที่ก่อสร้างฌาปนสถาน ตามแบบกรมศิลปากร ตรีมุขครึ่งตึกครึ่ง ไม้กว้าง 36 เมตร ยาว 30 เมตร
               พ.ศ.2514 ย้ายศาลาการเปรียญหลังเก่านำมาจัดสร้างแนวเดียวกับฌาปนสถานเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นบนเป็นทรงไทย ชั้นล่างเป็นคอนกรีต กว้าง 17 เมตร ยาว 20 เมตร
               พ.ศ.2521 ก่อสร้างพระอุโบสถคอนกรีตเหล็กสองชั้น (แทนพระอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุด) กว้าง 17 เมตร ยาว 46 เมตร และจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต
ในเดือนมกราคม 2530
               พ.ศ.2531 ก่อสร้างอาคารหอสมุดประชาชน เป็นอาคารคอนกรีตเสริม 2 ชั้น ชั้นบนเป็นแบบทรงไทย กว้าง 10 เมตร ยาว 21 เมตร และได้มอบให้ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภออัมพวาใช้เป็นสำนักงาน
               พ.ศ.2533 รื้อกุฏิเจ้าอาวาสเดิมแล้วสร้างใหม่เป็น อาคาร 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ ชั้นบนเป็นแบบทรงไทย ฝาไม้สัก 5 หลัง เชื่อมต่อกันตลอด
               พ.ศ.2534 ต่อเติมศาลาการเปรียญด้านหลังเป็นเรือนทรงไทย พร้อมห้องน้ำชั้นบน และสร้างเขื่อนกันดินบริเวณหลังกุฏิเจ้าอาวาส กว้าง1.5 เมตร ยาว 60 เมตร
               พ.ศ.2535 รื้อกุฏิสงฆ์ จำนวน 5 คู่ (10 หลัง) ด้านทิศตะวันออก สร้างใหม่เป็นแบบเดียวกัน ชั้นบนเป็นทรงไทยชั้นล่างเป็นคอนกรีต (แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2537)
               พ.ศ.2536 รื้อหอฉันภัตตาหารเดิมซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตพื้นไม้ แล้วจัดสร้างใหม่เป็นตัวอาคาร 2 ชั้น ทรงไทย เสาไม้จริงพร้อมหอกลาง หอระฆัง กว้าง 15 เมตร ยาว 50 เมตร (สร้างแล้วเสร็จ พ.ศ.2539) ชื่อ หอสุนทรธรรมกิจราษฎร์รังสรรค์
               พ.ศ.2537 จัดสร้างห้องน้ำห้องส้วมของวัดเพื่อประโยชน์แก่พระภิกษุสงฆ์และประชาชนทั่วไปบริเวณด้านหลังศาลาการเปรียญ
               พ.ศ.2538 จัดสร้างห้องน้ำห้องส้วมสำหรับบริการประชาชนข้างศาลาฌาปนสถาน จำนวน 6 ห้อง
               พ.ศ.2539 รื้อกุฏิสงฆ์ จำนวน 5 คู่ (10 หลัง) ด้านทิศตะวันตก จัดสร้างใหม่เป็นแบบเดียวกัน ชั้นบนเป็นทรงไทย ชั้นล่างเป็นอาคารคอนกรีต
               พ.ศ.2540 ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในหอฉันภัตตาหารพร้อมเทพื้นคอนกรีตปูกระเบื้องเป็นลานเชื่อมกุฏิสงฆ์ และหอฉันภัตตาหารทั้งสองด้าน จัด
ทำลูกกรงแสตนเลสโดยรอบ พร้อมจัดสร้างกำแพงคอนกรีตและกรง แสตนเลสรอบกุฏิสงฆ์และปรับปรุงผนังอาคารชั้นล่างของศาลาการเปรียญ โดยใช้ลูก
กรงแสตนเลสแทนผนังก่ออิฐถือปูนเดิม

       

               งานงานสาธารณูปการนับแต่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส

ภาพขยาย....

ศาลาแรกปั้นหยาล้วน    คนคง
แลมีโป๊ะทอดตรง    ท่าน้ำ
ให้ผู้คนสัญจร    เรือเร่ง เร็วนา
ยามร้อนแดดแผดกร้าน     พักได้ ทันใจ

 

จับงานกุฏิสร้าง    ทรงไทย
สำหรับสงฆ์อาศัย   ทุกผู้
จัดเป็นแนวเรียงไป    ตามแบบ อย่างนา
จั่วบริเวณจับคู่    เคียงไว้ ตรงกัน

ภาพขยาย....
   
ภาพขยาย....

หอสวดมนต์หลังหน้ารื้อ    สร้างใหม่
ลงอาคารปริยัติไซร์    แทนที่
วางแผนลงตัวไว   ้ สอนบา ลีเฮย
จวบปัจจุบันนี้    เว้นว่าง ครูสอน

   

กาลต่อมาจำเป็นสร้าง    หอระฆัง
พร้อมหอฉันภัตตาหารยัง    ขาดแผ้ว
เพื่อให้สงฆ์ลั่นระฆัง    ปฏิบัติ กิจนา
ปัจจุบันหาไม่แล้ว    เปลี่ยนใหม่ ทรงไทย

ภาพขยาย....
   
ภาพขยาย....

กุฏิใหม่ทรงไทยล้วน    สักทอง
งามสง่าน่ามอง    เจิดจ้า
เป็นดำริตามครรลอง    ของหลวง ปู่นา
เป็นถาวรวัตถุทรงคุณค่า   มอบให้ แผ่นดิน

   

มีเขื่อนทอดยาวไว้    กันดิน
ชนทุกผู้ทุกถิ่น    ได้ใช้
มีทางเดินตลอดสิ้น    เรียบโค้ง ยาวนา
ประชาชนร่วมท่านให้    สร้างมอบ อนุชน

ภาพขยาย....
   
ภาพขยาย....

ยามญาติขามลมไซร้    เรียกหา
สถานที่ฌาปนา    ท่านให้
เหตุเกิดด้วยสัจจา    เยี่ยงนี้ ท่านเฮย
จึงดำริจัดสร้างไว้    มอบให้ ปวงชน

   

เกิดกิจสงฆ์กิจชนด้วย    ศาลา
การเปรียญร่วมศรัทธา    ก่อกู้
ผสมผสานรูปทรงเสา    กลกับ ใหม่นา
เอื้อประโยชน์ทั้งผองผู้    ล้นพ้น อเนกอนันต์

ภาพขยาย....
   
ภาพขยาย....

งามแท้ตระหง่านตั้ง    อุโบสถ
เสาสูงหลังคาลด    หลั่นบ้าง
กระหนกไทยปั้นวางจรด    วิจิตร บรรจงแฮ
กอปรกิจสงฆ์มิว่าง    วันเนื่อง ตลอดมา

   

บรรจงสร้างหอสมุดไว้    เคียงกัน
มอบ กศน. โดยพลัน    ฮ่อนให้
นับเป็นอนุสรณ์อัน    ทรงเกียรติ จงลือ
หวังผดุงปัญญาไว้    แน่แท้ หนหลัง

ภาพขยาย....
   
ภาพขยาย....

ท่านรักไม้สักด้วย    จิตใจ
จึงวางดำริไว้    ให้สร้าง
กุฏิเผดียงไทย    แนวเหยียด ตรงแฮ
งามระเบียบหายากอ้าง    มอบให้ ชวนชม

   

ดินถูกน้ำแรงพัด    พังครืน
จึงสร้างเขื่อนไว้ยืน    หยัดสู้
ตรงหลังวัดกลมกลืน    ติดต่อ ไว้นา
เสร็จสรรพลุล่วงรู้    ประโยชน์นับ คุณูปการ

ภาพขยาย....
   
ภาพขยาย....

อนุสรณ์สุดท้ายตั้ง    มโหฬาร
งามวิจิตรพิสดาร    เพริศพริ้ง
ทุ่มเทด้วยหทัยกานต์    มุ่งมั่น เสร็จนา
หวังเป็นแรงบันดาลยิ่ง    สืบทอด (เจ) ตนารมณ์

   

สุนทรธรรมกิจราษฎร์    รังสรรค์
เลื่องระบือครามครัน    ทั่วหน้า
หาใดเปรียบรำพัน    งามสุด แท้เฮย
รวมทั้งโลกแหล่งหล้า    แม่นแท้ แห่งเดียว

ภาพขยาย....

 

:: ขอขอบคุณ พี่โอเล่ย์ ,อนันต์ ศาลายา ,บอม วัดแก้วฯ และคณะศิษย์วัดแก้วเจริญ ทุกท่าน...ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ::

 
      ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ " วัดแก้วเจริญ " และขอเชิญมากราบสรีระหลวงปู่หยอด ชินวํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ เกจิแห่งลุ่มน้ำแม่กลองอันโด่งดัง ผู้สร้างไหมห้าสีเบญจรงค์อันเลื่องชื่อ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัวครับ.....